ยลวิถีชีวิตคนเกาะยาว ย้อนรอยตำนานตะกั่วทุ่ง จ.พังงา เส้นทางที่ 1 วันที่ 24-25 ตค. 2561

 

ยลวิถีชีวิตคนเกาะยาว ย้อนรอยตำนานตะกั่วทุ่ง จ.พังงา  เส้นทางที่ 1  วันที่  24-25 ตค. 2561

สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดพังงา จัดกิจกรรม กำหนดเส้นทางการท่องเที่ยว โปรแกรมการท่องเที่ยวครอบคลุม 33 หมู่บ้าน 8 อำเภอ 
 ตามที่รัฐบาลปัจจุบัน มีนโยบายลดความเหลื่อมล้ำของสังคม มุ่งเน้นการสร้างรายได้กระจายสู่ท้องถิ่น สร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจของชุมชน โดยให้ภาคเอกชนและภาคประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินการร่วมกับภาครัฐ ในโครงการชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี ซึ่งรัฐบาลได้เล็งเห็นถึงโอกาสในการสร้างคน สร้างรายได้ให้กับชุมชน และส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชน รวมถึงได้สร้างกระบวนการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน และได้รับผลประโยชน์ร่วมกัน อันส่งผลให้ชุมชนเกิดความเข้มแข็ง
 “สร้างประสบการณ์ใหม่ จุดกระแสดีต่อใจไปพังงา” เป็นคอนเซ็ปการนำเสนอเส้นทางท่องเที่ยวและกิจกรรมท่องเที่ยว โดย สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดพังงา มีแนวคิดโดยการนำวัฒนธรรมที่หลากหลาย ผสมผสานทั้งไทย จีน มุสลิม และชาวตะวันตก ที่อาศัยอยู่ร่วมกันอย่างกลมกลืนและวิถีชีวิตท้องถิ่นที่เอื้ออำนวยต่อการส่งเสริมการท่องเที่ยว การดำเนินงานชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี สามารถสร้างอาชีพ สร้างรายได้ จากการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว ผลิตภัณฑ์ ให้มีอัตลักษณ์โดดเด่น สินค้าที่ระลึกแสดงถึงเอกลักษณ์ของท้องถิ่น ประเพณี วัฒนธรรม วิถีชีวิต แหล่งท่องเที่ยวของชุมชน โดยชุมชนเป็นแกนหลักในการบริหารจัดการด้านการท่องเที่ยว ทำให้ชุมชนมีศักยภาพรองรับนักท่องเที่ยวมากขึ้นรวมถึงได้สร้างกระบวนการในการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน และได้รับประโยชน์ร่วมกัน อันส่งผลให้ชุมชนเกิดความเข้มแข็ง กิจกรรมครั้งนี้ ถือเป็นส่วนสำคัญในการช่วยให้การดำเนินงาน หมู่บ้านชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถีให้บรรลุเป้าหมาย และสร้างการรับรู้ในวงกว้างโดยผ่านสื่อมวลชนทั้งในและต่างประเทศ เพื่อประชาสัมพันธ์กิจกรรม ที่จะสร้างรายได้จากการท่องเที่ยว และจำหน่ายผลิตภัณฑ์ OTOP ของชุมชนในพื้นที่ จังหวัดพังงา 
ไฮไลท์ของงานที่สื่อมวลชนจะได้สัมผัสถึงแก่นแท้แห่งวัฒนธรรมท้องถิ่น กิจกรรม Press Tour ครั้งนี้ ประกอบด้วยโปรแกรมการท่องเที่ยว 4 เส้นทาง ครอบคลุม ๓๓ หมู่บ้าน 8 อำเภอ ตั้งแต่วันที่ 24 – 31 ตุลาคม 2561 

   เส้นทางที่ 1 :  ยลวิถีชีวิตคนเกาะยาว ย้อนรอยตำนานตะกั่วทุ่ง

  อำเภอเกาะยาว

    หมู่บ้านน้ำจืด  ชุมชนบ้านน้ำจืด จ.รางวัลชุมชนประชารัฐสีชมพูยอดเยี่ยม ประจำปี ๒๕๖๐ ชุมชนบ้านน้ำจืดแห่งนี้ มีลำธาร 5 สายที่ไหลจากภูเขาผ่านที่ตั้งของชุมชนมารวมกันเป็นคลองสายหลักของหมู่บ้าน ชาวบ้านใช้เพื่อการเกษตรและปศุสัตว์  เมื่อกลุ่มคนในยุคบุกเบิกย้ายมาตั้งหมู่บ้านในพื้นที่แห่งนี้จึงตั้งชื่อชุมชนว่า “บ้านน้ำจืด”

    สถานที่ท่องเที่ยว ได้แก่ นาโต๊ะแหนะแหนะ จุดชมวิวสันหลังมังกร 
ห้อยขาดูนากลางเกาะชุมชนน้ำจืด ตกเบ็ดไม้ระกำ ธรรมชาติสามไข่ ขนมจีนปีนัง ขบวนแห่ขันหมากแต่งงาน ระบำลิเกีย อ่าวกะพ้อ ลิเกฮูลู ถนนสายวัฒนธรรมหลอมรวม ๓ อารยธรรม ตอกหอยหลักควาย ชมถ้ำเพชรปะการัง ความเป็นมาของชุมชนทุ่งตึก ระบำนกเงือก แหลมปะการัง รับชมสาธิตการทำโวยวาย ระบำรองแง็ง

   สินค้า OTOP  ปลอกหมอน ข้าวอินทรีย์ ขนมจากข้าวอินทรีย์ ผักปลอดสารพิษ ข้าวเม่า สมุดโน้ต หมอนอิง เสื้อสกรีน ผ้าพันคอ

หมู่บ้านท่าเขา

ทุเรียนร้อยปี เกาะกระดู่ ชมนักเงือก หาดยาว เกาะห้อง เกาะลาดิง  เกาะผักเบี้ย ถ้ำโต๊ะบวช
อาหารพื้นถิ่น
ต้มกะทิผักเหนียง น้ำพริกกะปิ แกงส้มปลามง ของหวานกลอย 
การแสดง/ประเพณี
ปันจักสีรัต

สินค้า OTOP
ผ้าบาติก ปลาฉิ้งฉ้าง หมวกผ้าบาติก กระเป๋า พวงกุญแจ ผ้าพันคอ กระเป๋าผ้า เสื้อสำเร็จรูป ผ้าเช็ดหน้า กรอบรูป

หมู่บ้านอ่าวกะพ้อ ตำบลพรุใน อำเภอเกาะยาว

คนกลุ่มแรกที่เดินทางเข้ามาบุกเบิกและอาศัยอยู่หมู่บ้านนี้ เป็นชาวประมงจากจังหวัดสตูล  ที่ล่องเรือจะมาทำประมงบริเวณแห่งนี้และเห็นว่าเป็นเกาะที่มีความอุดมสมบูรณ์ มีต้น“กะพ้อ” หรือกาป้อเป็นต้นไม้ล้มลุกที่มีอยู่มากในชุมชน จึงนำมาตั้งเป็นชื่อหมู่บ้าน
สถานที่ท่องเที่ยว/กิจกรรมท่องเที่ยว
หินรูปเต่าและหอยโข่ง เขาโต๊ะนาง แหลมล้าน หาหอย  เหวี่ยงแห  แล 3 ไข่(เกาะไข่นอก เกาะไข่ใน และเกาะหลีเป๊ะ)
สำรับอาหารพื้นถิ่น
หมึกผัดน้ำดำ ต้มส้มผักรวมใส่ปลาฉิ้งฉ้าง น้ำพริกปลาฉิ้งฉ้าง ขนมเปียกปูนมะพร้าวอ่อน
การแสดง/ประเพณี
ลิเกฮูลู
สินค้า OTOP
น้ำมันมะพร้าวสะกัดเย็น เบเกอรี่ ปลาฉิ้งฉ้าง ขนมกวน กล้วยฉาบ ผลิตภณฑ์จากกะลา หมวก กระเป๋า เสื้อสกรีน ผ้าพันคอ

หมู่บ้านหานบัว ตำบลโคกกลอย อำเภอตะกั่วทุ่ง

“หาน” ในภาษาท้องถิ่นพังงาหมายถึงบึงน้ำขนาดใหญ่ “หานบัว” คือที่ตั้งของชุมชนโบราณหลายร้อยปีในตำบลโคกกลอย อำเภอตะกั่วทุ่ง จังหวัดพังงา ที่มีบึงน้ำขนาดใหญ่อยู่ใจกลางชุมชน ในยุคที่การทำแร่ดีบุกรุ่งเรือง เศรษฐกิจการเงินในพื้นที่สะพัดมาก โคกกลอยจึงเป็นตำบลที่มีธนาคารรับฝากเงินหลายแห่งมาตั้งแต่อดีต ด้วยความมั่งคั่งของผู้คนที่นี่มาจาก “แร่ดีบุก”
สถานที่ท่องเที่ยว/กิจกรรมท่องเที่ยว
ศักการะศาลพ่อตาขุน ต้นตาลร้อยปี
สำรับอาหารพื้นถิ่น
แกงหัวโหนด เคยเค็มอึก แกงกะทิผักลิ้นห่านใส่ปลาย่าง น้ำพริกหยำ ขนมตาล ขนมจาก
การแสดง/ประเพณี
ระบำชุดดอกบัว ระบำภูตาล 
สินค้า OTOP
ถ่านดูดกลิ่น ชุดตะเกียบ ชุดแก้วชาไม้ตาล รวงตาล พวงกุญแจเขียนลาย ชุดแก้วไวน์ เสื้อปักลาย ขนมจาก ชุดเครื่องปรุงไม้ตาล กะปิ 

หมู่บ้านนากลาง ตำบลโคกกลอย อำเภอตะกั่วทุ่ง
เริ่มปรากฏมีหลักฐานการอพยพเข้ามาในพื้นที่บ้านนากลางในช่วง ก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2  โดยบรรพบุรุษกลุ่มแรกที่เข้ามายังไม่ได้ลงหลักปักฐานอย่างชัดเจน เพียงแค่พักอาศัยใน “ยกขนำ” หรือกระท่อมชั่วคราวเวลาเดินทางมาทำนาแล้วจึงเดินทางกลับไปพักอาศัยที่โคกกลอย เป็นเหมือนอู่ข้าวอู่น้ำของโคกกลอยในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2
สถานที่ท่องเที่ยว/กิจกรรมท่องเที่ยว
นากลางทุ่ง โรงเรือนเพาะเห็ดนางฟ้า ปลูกผักอินทรีย์ โรงเรือนกล้วยไม้
สำรับอาหารพื้นถิ่น
แกงพริกหัวโหนด มะพร้าวคั่วใบทองหลางผัดไทยสายใยรัก ซัดโหมดโจน น้ำพริกหยำ ถัวแปบ
การแสดง/ประเพณี
แห่กลองยาว
สินค้า OTOP
เสือบาติก ข้าวเกรียบเห็ดนางฟ้า ลูกชิ้นเห็ดนางฟ้า จักสานไม้ไผ่ เลม่อนการบูรหอม ปุ๋ยอินทรีย์ กล้วยฉาบสมุนไพร ขนมทองม้วน กระเป๋าผ้าบาติก

 

หมู่บ้านบางนุ ตำบลกะไหล อำเภอตะกั่วทุ่ง
อดีตแหล่งแร่หมื่นล้านผ่านกาลเวลาจึงเป็นแหล่งน้ำธรรมชาติที่เก็บกักน้ำไว้ให้ชุมชนได้ใช้เพื่อการเกษตร เลี้ยงสัตว์ รวมถึงทำการประมงน้ำจืดตลอดทั้งปี “ขุมเหมือง” เก่า กลายเป็นทรัพย์ในดินที่ถูกส่งต่อจากบรรพบุรุษ แต่เดิมคนที่เดินทางเข้ามาอยู่ในพื้นที่แห่งนี้เป็นชาวจีนฮกเกี้ยน ที่เข้ามาทำอาชีพกรรมกรเหมืองแร่
สถานที่ท่องเที่ยว/กิจกรรมท่องเที่ยว
หลาดลองแล สวนลุงนัย
สำรับอาหารพื้นถิ่น
แกงพริกไก่บ้านหน่อข่าอ่อน ต้มส้มบอนเต่า ผัดหน่อเกียบกุ้งสด ยำหยานัด บี้ถ่ายบัก 
เก๋ยวโก้ย โลบะ หัวหมูตุ๋น อาจาด ยำหัวปลี ผักกูด ส้มตำพริกไทดำ ห่อหมกปลา
การแสดง/ประเพณี
บาสโลบ
สินค้า OTOP
น้ำพริกใบธัมมัง ผักเขลียงแปรรูป เฉาก๊วยหญ้าหวาน ชารากหญ้าคา เสื้อมัดย้อม ไอศกรีมกล้วย ขนมพริก เทียนหอมดอกบัว เมล่อนอินทรีย์ ตังเมกรอบ

หมู่บ้านสามช่องเหนือ ตำบลกะไหล อำเภอตะกั่วทุ่ง

 บ้านสามช่องเหนือ  ในอดีตคนเก่าแก่เรียกพื้นที่แห่งนี้วา ทับเหนือ ในภาษาท้องถิ่น ‘ทับ’ หมายถึงสิ่งปลูกสร้างที่อยู่อาศัยชั่วคราวของชาวประมง ใน ปี พ.ศ. 2457 ได้เปลี่ยนชื่อหมู่บ้านเป็น บ้านสามช่องเหนือ ตามที่มาของลำคลองสามสายที่ไหลผ่านเหนือหมู่บ้าน คือ คลองบางหลาม คลองเชียงใหม่ และคลองตาจอ และไหลมารวมกันเรียกว่า คลองสามช่อง
สถานที่ท่องเที่ยว/กิจกรรมท่องเที่ยว
ล่องเรือชมธรรมชาติ ต้นไม้คู่ เขาพิงกัน เกาะตาปู ถ้ำลอด โฮมสเตย์บ้านสามช่องเหนือ
สำรับอาหารพื้นถิ่น
หอยหลักควายลวกจิ้มมะพร้าวคั่ว แกงส้มหอยกัน หอยนางรม ปลากระพงนึ่ง 
การแสดง/ประเพณี
ระบำ...
สินค้า OTOP
ผ้าพัคอ กะปิ กุ้งเสียบ ปูนิ่มทอดกระเทียม แปรรูปกะลามะพร้าว แชมพูสาหร่าย ขนมเกล็ดบอระเพ็ด หมวกจากผ้ามัดย้อม กระเป๋าผ้ามัดย้อม เสื้อผ้ามัดย้อม

ขอเชิญมาสัมผัสวิถีชุมชนคนเกาะยาว ย้อนรอยตำนานตะกั่วทุ่ง พังงา แล้วคุณจะบอกว่า  รักจัง...พังงา

 

 



จำนวนผู้ชม 629

ข่าวอื่นๆ ในหมวด CSR - AGRICULTURE

"กลุ่มเพื่อนเจ้าสัว เชียงใหม่ 63" มอบชุดกล้องวงจรปิด CCTV ให้กับด่านตรวจคัดกรองโควิด-19 จังหวัดเชียงใหม่

ภาคเอกชน "กลุ่มเพื่อนเจ้าสัว เชียงใหม่ 63" โดยการนำของ นายกิตติศักดิ์ ประอินทร์, นายพฤฒ

สถาบันบำราศนราดูร รับมอบยาน้ำฮั่วเซียงฯ รักษา COVID-19

เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ในประเทศไทยมีความรุนแรงเพิ่มขึ้นทุกวัน การเตรียมความพ